Supply Chain ห่วงโซ่อุปทาน

Global Trends | 16 กันยายน 2563

เมื่อเทคโนโลยีช่วยพัฒนาความโปร่งใส ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีบริษัทเป็นจำนวนมากที่ได้ทำการตั้งเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ตั้งต่การเลิกตัดไม้ทำลายป่าไปจนถึงการยกเลิกการใช้แรงงานเด็ก แต่ดูเหมือนว่าความคืบหน้าของเป้าหมายเหล่านี้จะยังดูไม่ค่อยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเท่าไรนัก

ส่วนมากแล้วปัญหาเหล่านี้จะมาจากความซับซ้อนซ่อนเงื่อนของระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะเมื่อผู้จัดหานำเอาสินค้ามาจากบริษัทท้องถิ่นขนาดเล็กในหลายๆ ประเทศที่การบังคับใช้กฎหมายนั้นหย่อนยานและไร้ซึ่งความโปร่งใส หรือถ้าจะมีก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ราวยี่สิบปีที่แล้ว บริษัทช็อคโกแลตที่ใหญ่ที่สุดหลายๆ บริษัทได้ทำการลงนามไม่ยอมรับการใช้แรงงานเด็กในระบบห่วงโซ่อุปทานของตน แต่ก็ยังมีรายงานหลายฉบับที่ชี้แจงว่าไม่มีสัญญาฉบับใดเลยที่สามารถยกเลิกการใช้แรงงานเด็กได้อย่างเด็ดขาด และราวสิบปีที่ผ่านมา บริษัทในกลุ่ม Consumer Goods Forum ที่มีบริษัทสมาชิกมากกว่า 400 บริษัทได้ออกหนทางแก้ไขการตัดไม้ทำลายป่าของระบบห่วงโซ่อุปทานที่เป็นต้นเหตุการตัดไม้เป็นจำนวนมากบนโลกเพื่อการทำอุตสาหกรรมปศุสัตว์ อุตสาหกรรมถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน รวมไปถึงกระดาษและเยื่อกระดาษภายในปี 2020 มีเพียง 21 บริษัทในจำนวนทั้งหมดนั้นที่ได้รายงานถึงความคืบหน้าในเชิงปริมาณที่จะหยุดการทำลายป่าของตัวเอง ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีความคืบหน้าในด้านความยั่งยืนของระบบห่วงโซ่อุปทานที่บริษัทจำนวนหนึ่งทำสำเร็จ แต่ก็ยังคงเป็นระดับที่ช้าและน้อยไปมากเมื่อเทียบกับปัญหาที่เกิดขึ้น ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ ระบบการปฏิบัติการแบบดิจิตอล และเทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain) กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง การทำเทคโนโลยีมาผสานกับการลงมือปฏิบัติงานจริงอาจจะช่วยสร้างความเป็นไปได้ที่ยิ่งใหญ่ได้

การคาดการณ์ในปี 2020 

ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีบล็อคเชน การจับภาพด้วยดาวเทียม และการเปลี่ยนข้อมูลของระบบห่วงโซ่อุปทานให้กลายเป็นข้อมูลดิจิตอลต่างก็จะเติบโตยิ่งๆ ขึ้น นำไปสู่ความโปร่งใสของระบบห่วงโซ่อุปทานแบบครบวงจร เทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญสำหรับหลายๆ บริษัทที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าบนการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้นและความคาดหวังต่อการเปิดเผยความโปร่งใสของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น เทคโนโลยีจะทำให้เหล่าลูกค้าสามารถมองเห็นปัญหาได้ในทันทีที่มันเกิด และเมื่อเหลือเวลาอีกเพียงสิบปีสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเหล่านี้จะต้องการการร่วมมือที่มากขึ้นในระบบอุตสาหกรรม จากภาคอาหารสู่ภาคการเกษตร สู่อุตสาหกรรมการทำเหมือง สู่เทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งสู่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

 

ข้อแนะนำสำหรับองค์กรธุรกิจ

  • เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับบริษัทที่จะต้องตรวจสอบระบบห่วงโซ่อุปทานที่ไม่ยั่งยืนและสำรวจความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีที่จะสามารถนำมาใช้พัฒนาได้หรือไม่ 
  • การร่วมมือกันระหว่างคู่ค้าและคู่แข่งจะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องทำเพื่อให้มองเห็นถึงปัญหา เช่น การใช้แรงงานเด็ก ที่การแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างไม่ดีนัก
  • บริษัทควรร่วมมือกับคู่ค้าและคู่แข่งในแง่ของการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อให้ผู้จัดการสินค้าที่ทำงานร่วมกันนั้น ไม่จำเป็นจะต้องใช้แพลตฟอร์มที่หลากหลายสำหรับการเปิดเผยความโปร่งใส และให้มีการใช้หลักปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืน
  • การเปิดเผยความร่วมมือกับผู้จัดหา (คู่ค้า) จะช่วยในการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นเรื่องจำเป็น

 

อ้างอิง https://trends.sustainability.com/2020/supply-chain/